วันนี้ 20 ก.ค. 2566 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เดินทางเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเผยถึงเหตุการณ์การตีตกญัตติการโหวตนายกฯว่า เหตุการณ์นี้ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะจะเป็นข้อผูกมัดในอนาคตด้วย แต่ข้อบังคับดังกล่าวอยู่ในมาตรา 272 หากเปลี่ยนแปลงข้อบังคับดังกล่าวได้ ผลผูกพันธ์อาจจะลดลง หลังจากนี้ต้องหารือกับ 8 พรรคร่วมรัฐบาล โดยให้สิทธิพรรคก้าวไกล แต่ต้องรอพรคคก้าวไกล นัดหมายก่อน เบื้องต้นเลขาธิการพรรคทั้ง 2 พรรคได้พูดคุยกันแล้ว
ส่วนความเห็นของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นมุมมองส่วนตัวในการวินิจฉัย ก็ได้ให้แนวทางว่าใครเป็นผู้เสียหายหรือถูกละเมิดสิทธ์ สามารถยื่นต่อผู้ตรวจการได้ แต่เป็นสิทธิ์ของบุคคล ซึ่งกระบวนการร้องโดยหลักต้องร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน เว้นแต่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่รับก็มีสิทธิร้องตรงได้ ส่วนการหารือก่อนวันที่ 27 ก.ค.นี้ ที่จะมีการนัดประชุมร่วมรัฐสภาอีกครั้ง ก็ต้องรอการนัดหมายอย่างเป็นทางการของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล อีกครั้ง
ส่วนจะเสนอใคร นพ.ชลน่าน ระบุว่า ยังไม่สามารถฟันธงได้ อยู่ที่การหารือเป็นหลัก ซึ่งการหารืออาจจะเป็นวันนี้หรือพรุ่งนี้ หลังจากนี้การทำงานของ 8 พรรคร่วม จะมีปัญหาหรือไม่ เนื่องจากแกนนำของพรรคก้าวไกล ไม่พอใจการทำหน้าที่ ของประธานสภาเมื่อวาน นี้ นพ.ชลน่าน ยอมรับว่าตนเองก็ไม่พอใจ แต่เมื่อมติออกมาก็ต้องยอมรับ อนาคตก็ต้องคุยกันอย่างจริงจัง เมื่อจะมีการแก้ไขข้อบังคับการประชุมรัฐสภา แต่สำหรับเหตุการณ์เมื่อวานนี้สะท้อนให้เห็นว่าเสียงข้างมาก ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม
ด้อมส้มโคราช เชื่อมีใบสั่งสกัด “พิธา” เป็นนายกฯ
"สส.อัครเดช" เผยถ้าก้าวไกลถอยม.112 พร้อมหนุนเป็นนายกฯ
ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า หลังจากนี้จะทำให้กระบวนการรัฐสภา เกิดปัญหาหรือไม่ เมื่อไม่สามารถแยกได้ระหว่าง ญัตติ และวาระ นพ.ชลน่าน เชื่อจะมีปัญหาในอนาคต แต่บทเรียนครั้งนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขได้ เพราะข้อบังคับเกิดจากสมาชิก รัฐสภา แต่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า เมื่อหมดวาระ สว. 11 พ.ค. 2567 ก็มีความชอบที่จะแก้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนำเอาเรื่องของการให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี มากำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร อะไรที่เกี่ยวกับการประชุมก็นำไปไว้ในข้อบังคับการประชุม ส่วนอะไรที่เป็นข้อจำกัดการประชุมรัฐสภา เราก็สามารถมาบัญญัติในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ชัดแบบนี้ถือว่าทำได้
เมื่อถามต่อว่า เมื่อถึงคิวการเสนอชื่อของพรรคเพื่อไทย หวั่นจะเกิดการซ้ำรอย นายพิธา หรือไม่ หากรายชื่อที่เพื่อไทย นำเสนอไม่ผ่าน นพ.ชลน่าน ยอมรับว่าเมื่อข้อบังคับถูกวินิจฉัยอย่างเช่นเมื่อวาน ก็ยอมรับว่าเป็นห่วง เพื่อไทยเองถกภาระลำบาก ถ้ากรณีเราได้โอกาสเป็นแกนนำ ยอมรับ ถ้าไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ก็ยากจะฝ่าด่านนี้ไปได้ เป็นหน้าที่ของพรรคแกนนำ ที่ต้องหาความมั่นใจ ว่าการเสนอชื่อใหม่มาจะผ่านไปได้ เพราะไม่มีใครอยากรบในสมรภูมิ ที่รบแล้วแพ้ เราเสียคนของเราไปด้วย หากมีคนเดียวแล้วเสนอซ้ำไม่ได้ก็จบคำพูดจาก สล็อตวอเลท
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีสมาชิกสภา ร้องการวินิจฉัยเมื่อวานนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นพ.ชลน่าน ระบุว่า ก็สมควรอะไรที่ไม่ชอบ รัฐธรรมนูญ ก็มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการ
เมื่อมีกระแสข่าวว่า หากเพื่อไทยเสนอชื่อ แต่ยังจับกับก้าวไกล ก็จะไม่ผ่านรายชื่อ นพ.ชลน่าน บอกว่าส่วนตัวมองว่าเป็นเพียงกระแสข่าว ต้องไปพิสูจน์ข่าวว่าเป็นจริงหรือไม่ พร้อมย้ำว่า หลักการชนะ ไม่ได้กำหนดว่าจะมีพรรคก้าวไกล หรือไม่ เพราะวันนี้กรอบยังมี 8 พรรคร่วมรัฐบาลอยู่
ส่วนเรื่องที่หลายคนมองว่า อยากให้พรรคก้าวไกล ลดเพดาน ม.112 เพื่อจะได้เสียง สว.มากขึ้น นั้น นพ.ชลน่าน บอกว่า ตนเองสงสารพรรคก้าวไกล เพราะเงื่อนไขไม่ใช่แค่แก้ไข มาตรา 112 วันนี้มากกว่านั้น และเพื่อไทยเองไม่มีความคิดไปก้าวล่วงสิทธิและเสรีภาพของก้าวไกล เป็นพรรคร่วมก็จริง แต่การจะบอกให้ไปลดเพดานคงไม่ได้ เพราะอยู่ที่การตัดสินใจของแต่ละกลุ่ม
สำหรับทิศทางอนาคตในเรื่องการโหวต ยังไม่สามารถตอบได้ ขอให้ไปถึงจุดนั้นก่อน ถึงจะบอกวิธีคิดได้ ทั้งนี้ ประเด็นการพูดคุยกับ สว. เพื่อหาเสียงเพิ่ม นพ.ชลน่าน ระบุว่า ยังไม่มีการพูดคุย รอให้มีกระบวนการก่อนว่าใครจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ย้ำต้องเสนอชื่อวันที่ 27 ก.ค.นี้ ส่วนจะเป็นใครก็ต้องรอ