วันนี้ 27 มิ.ย. 2566 นายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 นำเอกสารเกี่ยวกับการถือครองหุ้นไอทีวีของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล มายื่นต่อ นายสมชาย แสวงการ และ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา ขอให้ ส.ว. และ ส.ส. ที่เพิ่งได้รับรอง เข้าชื่อร้องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ปมหุ้นสื่อ ก่อนที่จะมีการโหวตนายกรัฐมนตรี เพราะไม่อยากให้เสนอชื่อให้ทูลเกล้าฯ ทั้งที่ยังมีมลทิน
ย้อนไทม์ไลน์ร้องหุ้นITV "พิธา"
มือบัญชี ITV ไม่รู้เห็น พลิกประเภทกิจการกลับเป็นสื่อ
ซึ่งจากข้อมูลคือ นายพิธา ถือหุ้นไอทีวีจริง จำนวน 14,000 หุ้น และไอทีวี ก็ยังดำเนินกิจการอยู่ แม้มีข้อพิพาท กับ สปน. โดยที่ผ่านมาตนเองก็เคยไปยื่นเรื่องกับ กกต. ให้ตรวจสอบเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้นสื่อที่โดนตัดสิทธิ์ทุกคน ซึ่งบางคนถือเพียงหุ้นเดียว 5 บาทก็ยังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองถึง 20 ปี
ด้าน นายสมชาย แสวงการ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ยืนยัน จะรับเรื่องไว้พิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่การที่จะให้ ส.ว. ไปเข้าชื่อนั้น โดยหลักจะต้องเป็นการร้องตรวจสอบ ส.ว. ด้วยกัน หากเป็นการตรวจสอบ ส.ส. ก็ต้องให้ ส.ส.เข้าชื่อ
อย่างไรก็ตาม มองว่า กกต.มีหน้าที่อยู่แล้ว หากพิจารณาตามข้อกฎหมาย ก็น่าจะชัดเจนว่า นายพิธา ถือหุ้นหรือไม่ ซึ่งถ้าหากใช้มาตรฐานเดียวกับกรณีของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ก็สามารถส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้
ขณะที่ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา บอกว่า เอกสารของนายนพรุจ จะนำไปหารือในคณะกรรมาธิการทั้ง 2 คณะที่ตนเอง และนายสมชาย เป็นประธาน โดยส่วนของ กมธ.การเมืองฯ จะนำข้อมูลที่ได้ไปพิจารณาต่อเพราะสอดคล้องกับภารกิจของ กมธ.ที่กำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
โดยวันนี้จะตรวจสอบและรวบรวมกับข้อมูลของ กมธคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เพื่อจะนำไปหารือและมอบให้กับประธาน กกต. ในวันพรุ่งนี้ ซึ่งได้นัดหมายไว้ก่อนแล้วว่าจะเข้าไปพบเวลา 10.00 น.
ส่วนจะคุยกับ กกต.เรื่องที่ดินของนายพิธาที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ด้วยหรือไม่ นายเสรี ตอบว่า เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของทรัพย์มรดก ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าการจัดการมรดกมีการจัดการกันช่วงไหนเวลาใด เพื่อมาเทียบเคียงกับเรื่องหุ้นไอทีวี เพราะหากมีการแบ่งทรัพย์มรดกอื่นๆ เอาไว้แล้ว ก็จะมีคำถามต่อว่าเหตุใดจึงไม่จัดการเรื่องหุ้นในเวลาเดียวกัน